เมนู

อื่นจาก 3 วารนั้น ท่านปรับเป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะเป็นวัตถุอันชน
เหล่าอื่นไม่ได้หวงแหน. วัตถุที่ท่านกล่าวใน 3 วารนั้นว่า มิใช่ของอันผู้อื่น
หวงแหน จะเป็นวัตถุที่ยังมิได้ครอบครองก็ตาม จะเป็นของที่เขาทิ้งแล้วหมด
ราคา หาเจ้าของมิได้ หรือจะเป็นของ ๆ ตนก็ตาม, วัตถุแม้ทั้ง 2 ย่อมถึง
ความนับว่า มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน. ก็ในทรัพย์ 2 อย่างนี้ มีความสำคัญ
ว่า ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหนไว้ 1 ถือเอาด้วยไถยจิต 1; เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงไม่กล่าวอนาบัติไว้ ฉะนั้นแล.

[

อรรถาธิบายในอนาปัตติวาร

]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความต่างแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจ
แห่งวัตถุและด้วยอำนาจแห่งจิต อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอนาบัติ
จึงตรัสดำว่า อนาปตฺติ สกสญฺญิสฺส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกสญฺญิสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้มีความ
สำคัญว่าเป็นของตน คือ ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ภัณฑะนี้เป็นของเรา เมื่อ
ถือเอาแม้ซึ่งภัณฑะของผู้อื่น ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอา, ควรให้ทรัพย์
ที่ตนถือเอาแล้วนั้นคืน ถ้าถูกพวกเจ้าของทวงว่า จงให้. เธอไม่ยอมคืนให้
เป็นปาราชิก ในเมื่อเจ้าของทรัพย์เหล่านั้นทอดธุระ.
บทว่า วิสฺสาสคฺคาเห ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอาด้วย
วิสาสะ. แต่ควรรู้ลักษณะแห่งการถือเอาด้วยความวิสาสะ โดยสูตร*นี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เอาอนุญาตให้ถือวิสาสะ แก่บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์
5 คือ เคยเห็นกันมา 1 เคยคบกันมา 1 เคยบอกอนุญาตกันไว้ 1 ยังมี
ชีวิตอยู่ 1 รู้ว่าเราถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ 1.
//* วิ. มหา 5/218.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺทิฏฺโฐ ได้แก่ เพื่อนเพียงเคยเห็นกัน.
บทว่า สมฺภตฺโต ได้แก่ เพื่อนสนิท.
บทว่า อาลปิโต ได้แก่ ผู้อันเพื่อนสั่งไว้ว่า ท่านต้องการสิ่งใดซึ่ง
เป็นของผม ท่านพึงถือเอาสิ่งนั้นเถิด, ไม่มีเหตุในการที่ท่านจะขออนุญาตก่อน
จึงถือเอา. แม้เพื่อนผู้นอน ด้วยการนอนที่ไม่ลุกขึ้น ยังไม่ถึงความขาดเด็ด
แห่งชีวิตินทรีย์เพียงใด ชื่อว่ายังมีชีวิตอยู่เพียงนั้น.
หลายบทว่า คหิเต จ อตฺตมโน ความว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว เขา
จะพอใจ. การที่ภิกษุเมื่อรู้ว่า ครั้นเราถือเอาสิ่งของ ๆ ผู้อื่นเห็นปานนี้แล้ว
เขาจักพอใจ จึงถือเอา ย่อมสมควร. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสองค์ 5
เหล่านั้นไว้ ด้วยอำนาจแห่งการรวบรวมไว้โดยไม่มีส่วนเหลือ.* แต่การถือเอา
ด้วยวิสาสะ ย่อมขึ้นด้วยองค์ 3 คือ เคยเห็นกันมายังมีชีวิตอยู่ รู้ว่าเมื่อเรา
ถือเอาแล้ว เขาจักพอใจ 1 เคยคบกันมา ยังมีชีวิตอยู่ รู้ว่าเมื่อเราถือเอาแล้ว
เขาจักพอใจ 1 เคยบอกอนุญาตกันไว้ ยังมีชีวิตอยู่ รู้ว่าเมื่อเราถือเราแล้ว
เขาจักพอใจ 1. ส่วนเพื่อนคนใด ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อถือเอาแล้วเขาไม่พอใจ.
สิ่งของ ๆ เพื่อนคนนั้น แม้ภิกษุถือเอาแล้วด้วยการถือวิสาสะ ก็ควรคืนให้
แก่เจ้าของเดิม, และเมื่อจะคืนให้ ทรัพย์มรดก ควรคืนให้แก่เหล่าชน
ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ของผู้นั้นก่อน จะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม, ทรัพย์
ของเพื่อนผู้ไม่พอใจ ก็ควรคืนให้ผู้นั้นนั่นเอง.
ส่วนภิกษุใด พลอยยินดีตั้งแรกทีเดียว ด้วยการเปล่งวาจาว่า ท่าน
เมื่อถือเอาของ ๆ ผมชื่อว่าทำชอบแล้ว หรือเพียงจิตตุปบาทเท่านั้น ภายหลัง
โกรธด้วยเหตุบางอย่าง, ภิกษุนั้นย่อมไม่ได้เพื่อจะให้นำมาคืน. แม้เธอรูปใด
//* ศัพท์นี้น่าจะถูกตามอรรถโยชนาว่า อเสส. . . จึงได้แปลไว้อย่างนั้น.

ไม่ประสงค์จะให้ แต่รับคำไว้ด้วยจิต ไม่พูดอะไร ๆ แม้เธอรูปนั้น ก็ย่อม
ไม่ได้เพื่อจะให้นำมาคืน. ส่วนภิกษุใด เมื่อเพื่อนภิกษุพูดว่า สิ่งของ ๆ ท่าน
ผมถือเอาแล้ว หรือผมใช้สอยแล้ว จึงพูดว่า สิ่งของนั้น ท่านจะถือเอาหรือ
ใช้สอยแล้วก็ตาม, แต่ว่าสิ่งของนั้น ผมเก็บไว้ด้วยกรณีบางอย่างจริง ๆ ท่าน
ควรทำสิ่งของนั้นให้เป็นปกติเดิม ดังนี้ ภิกษุนี้ ย่อมได้เพื่อให้นำมาคืน.
บทว่า ตาวกาลิเก ความว่า สำหรับภิกษุผู้ถือเอาด้วยคิดอย่างนี้ว่า
เราจักให้คืน จักทำคืน ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอาแม้เป็นของยืม. แต่
สิ่งของที่ภิกษุถือเอาแล้ว ถ้าบุคคลหรือคณะผู้เป็นเจ้าของ ๆ สิ่งของ อนุญาต
ให้ว่า ของสิ่งนั่นจงเป็นของท่านเหมือนกัน ข้อนี้เป็นการดี ถ้าไม่อนุญาตไซร้,
เมื่อให้นำมาคืน ควรคืนให้. ส่วนของ ๆ สงฆ์ ควรให้คืนที่เดียว.
ก็บุคคลผู้เกิดในเปรตวิสัยก็ดี เปรตผู้ที่ทำกาละแล้ว เกิดในอัตภาพ
นั้นนั่นเองก็ดี เทวดาทั้งหลาย มีเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกเป็นต้นก็ดี, ทั้งหมด
ถึงความนับว่า เปรต เหมือนกันในคำว่า เปตปริคฺคเห นี้ ไม่เป็นอาบัติ
ในทรัพย์อันเปรตเหล่านั้นหวงแหน. จริงอยู่ ถ้าแม้ท้าวสักกเทวราชออกร้าน
ตลาดประทับนั่งอยู่, และภิกษุผู้ได้ทิพยจักษุ รู้ว่าเป็นท้าวสักกะ แม้เมื่อท้าว
สักกะนั้นร้องห้ามอยู่ว่า อย่าถือเอา ๆ ก็ถือเอาผ้าสาฎกแม้มีราคาตั้งแสน เพื่อ
ประโยชน์แก่จีวรของตนไป, การถือเอานั้น ย่อมควร. ส่วนในผ้าสาฎกที่
เหล่าชนผู้ทำพลีกรรมอุทิศพวกเทวดา คล้องไว้ที่ต้นไม้เป็นต้น ไม่มีคำที่ควร
จะกล่าวเลย.
บทว่า ติรจฺฉานคตปริคฺคเห ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติ เพราะทรัพย์
แม้พวกสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน. จริงอยู่ แม้พวกพญานาค หรือสุบรรณมาณพ
แปลงรูปเป็นมนุษย์ ออกร้านตลาดอยู่, และมีภิกษุบางรูป มาถือเอาสิ่งของ ๆ

พญานาคหรือของสุบรรณมาณพนั้น จากร้านตลาดนั้นไป โดยนัยก่อนนั่นเอง,
การถือเอานั้น ย่อมควร. ราชสีห์ หรือ เสือโคร่งฆ่าสัตว์มีเนื้อและกระบือ
เป็นต้นแล้ว แต่ยังไม่เคี้ยวกิน ถูกความหิวเบียดเบียน ไม่พึงห้ามในตอนต้น
ทีเดียว, เพราะว่ามันจะพึงทำแม้ความฉิบหายให้. แต่ถ้าเมื่อราชสีห์เป็นต้น
เคี้ยวกินเนื้อเป็นอาทิไปหน่อยหนึ่งแล้ว สามารถห้ามได้ จะห้ามแล้วถือเอา
ก็ควร. แม้จำพวกนกมีเหยี่ยวเป็นต้น คาบเอาเหยื่อบินไปอยู่ จะไล่ให้มันทิ้ง
เหยื่อให้ตกไป แล้วถือเอาก็ควร.
บทว่า ปํสุกูลสญฺญิสฺส ความว่า แม้สำหรับภิกษุผู้มีความสำคัญ
อย่างนั้นว่า สิ่งของนี้ ไม่มีเจ้าของ เกลือกกลั้วไปด้วยฝุ่น ไม่เป็นอาบัติ
เพราะการถือเอา. แต่ถ้าสิ่งของนั้นมีเจ้าของไซร้, เมื่อเขาให้นำมาคืน ก็ควร
คืนให้.
บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ความว่า ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้เป็นบ้า
ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น.
บทว่า อาทิกมฺมิกสฺส ความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่พระธนิยะผู้เป็น
อาทิกัมมิกะ (ผู้เป็นต้นต้นบัญญัติ) ในสิกขาบทนี้. แต่สำหรับภิกษุฉัพพัคคีย์
เป็นต้น ผู้เป็นโจรลักห่อผ้าของช่างย้อมเป็นอาทิที่เหลือ เป็นอาบัติทีเดียว
ฉะนั้นแล.
จบการพรรณนาบทภาชนีย์

กถาว่าด้วยการสับเปลี่ยนสลาก


[

ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น

]
ก็ในปกิณกะนี้ คือ
สมุฏฐาน 1 กิริยา สัญญา 1
สจิตตกะ 1 โลกวัชชะ 1 กรรมและกุศล
พร้อมด้วยเวทนา 1

บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหมด โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท
นั่นเอง ว่า สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 คือ เป็นสาหัตถิกะเกิดทางกายและทาง
จิต, เป็นอาณัตติกะ เกิดทางวาจาและทางจิต, เป็นสาหัตถิกะและอาณัตติกะ
เกิดทางกาย ทางวาจาและทางจิต; และเกิดเพราะทำ; จริงอยู่ เมื่อทำเท่านั้น
จึงต้องอาบัตินั้น; เมื่อไม่ทำก็ไม่ต้อง เป็นสัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นด้วยไม่มี
สำคัญว่า เราจะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้, เป็นสจิตตกะ เป็นโลก
วัชชะ เป็นกายกรรม เป็นวจีกรรม เป็นอกุศลจิต, ภิกษุยินดี หรือกลัว
หรือวางตนเป็นกลาง จึงต้องอาบัตินั้น; เพราะเหตุนั้น สิกขาบทนี้ จึงชื่อว่า
มีเวทนา 3.

[

อรรถาธิบายอุทานคาถาในวินีตวัตถุ

]
ในคาถาแห่งวินีตวัตถุ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- เรื่องภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอนุบัญญัตินั่นแล. ในเรื่องที่ 2 มีวินิจฉัย
ดังนี้ ขึ้นชื่อว่า จิตของพวกปุถุชน ละปกติไปด้วยอำนาจกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ย่อมวิ่งไป คือ พล่านไป ได้แก่ เร่ร่อนไป. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า